ประวัติและความเป็นมาของอนุสาวรีย์ผู้เสียสละ เขาค้อ เพชรบูรณ์

เขาค้อ ณ ปัจจุบัน เคยได้ชื่อว่าเป็น ดินแห่งคอมมิวนิสต์ เคยเป็นพื้นที่สีแดงที่เต็มไปด้วยควันไฟของสงคราม

สงครามที่เป็นการต่อสู้รบจากผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันในช่วงปี พ.ศ. 2511-2525 ยุคนั้นเขาค้อถือเป็นดินแดนต้องห้าม ห้ามคนทั่วไปเข้าเหยียบย้ำ หรือเฉียดเข้าไปใกล้แม้เด็ดขาด เพราะ ถือว่ามีความเป็นอันตรายแบบสุดๆ ในต่อมาเมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นสงบลง เขาค้อจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม และเป็นเสน่ห์ของจังหวัดเพชรบูรณ์

เป็นรูปภาพเก่าเล่าใหม่ ที่เหล่าผู้เสียสละของทหารกล้าได้เดินทางปกป้องประเทศชาติ

 อนุสรณ์ สถานผู้เสียสละเขาค้อ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา มีความโดดเด่นด้วยแท่งหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม

ออกแบบโดย ดร.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีรูปร่างขนาดและความหมาย ดังต่อไปนี้

  • รูปทรางสามเหลี่ยม หมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ ตำรวจ ทหาร และพลเรือน
  • ฐานกว้าง 11 เมตร หมายถึงปี พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มการปฏิบัติการความรุนแรงของผู้ที่ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • ความสูงน 24 เมตร หมายถึงปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่
  • ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ
  • ความกว้างของฐานสามเหลี่ยมทั้ง 3 ด้าน ด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงในปี 2526 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มกก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละ

พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผู้อำนวยการหน่วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2526 โดยเงินทุนในการสร้างขึ้นจากงินบริจาคของประชาชนและข้าราชการทุกฝ่าย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานเปิดอนุสรณ์สถานแห่งนี้ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 เพื่อเป็นการเตือนใจคนไทยทั้งชาติว่า “ยามใดที่คนไทยเกิดการขัดแย้งกัน จะต้องมีการสูญเสียอย่างผู้กล้าหาญ 1,171 ชีวิต ที่จารึกไว้กับองค์อนุสรณ์ จงอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก” ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้กำหนดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ของทุกๆปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ให้เป็นวันสมโภช  โดยความที่ตั้งของอนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงของอำเภอเขาค้อ จึงทำให้มีวิวที่สวยงามเมื่อมองลงไปก็จะเห็น เขาลูกน้อยลูกใหญ่สลับกันไป

เรียบเรียงโดย : phetchabun.org