ตำนาน “เณรมั่น เณรคง” วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ปกป้องเมืองเพชรบูรณ์
ตำนานนี้ถูกกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่น ของตำนานวิญญาณที่ปก […]
เชื่อว่าคนไทยทุกคนจะต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละ.. ของบรรพบุรุษไทย” กันอย่างแน่นอน ซึ่อข้อความหรือประโยคดังกล่าวนั้นเป็นข้อความก่อนที่จะมีเพลงชาติไทยขึ้นในทุกวัน และก็แน่นอนว่าคงไม่มีคนไทยคนใดที่ร้องเพลงชาติไทย เพลงประจำชาติไทยของเราไม่ได้แต่ถึงอย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหลายคนจะสามารถที่จะร้องเพลงชาติไทยได้ แต่ก็มีน้อยคนที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้างกว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราร้องกันในปัจจุบัน
ในอดีต เมื่อช่วง ก่อนปี พ.ศ. 2575 หรือในช่วงที่ประเทศไทยของเราปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชาวไทยเราจะใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงประจำชาติไทย ด้วยสาเหตุที่ว่าในอดีตนั้นมักจะมีกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองต่างชาติมาเยี่ยมประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง จึงได้อนุโลมและยกให้เพลงสรรเสริญพระบารมีกลายเป็นเพลงชาติไทยไปโดบพฤตินัย ณ ช่วงเวลานั้น
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 และเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อจากสยามประเทศ มาเป็นประเทศไทย จึงได้มีการแต่งเพลงชาติไทยขึ้นมาโดยเฉพาะขึ้นใหม่ โดยมีการใช้ฉบับชั่วคาวก่อน 7 วัน และหลังจากนั้นเป็นระยะเวลากว่า 7 ปีเต็ม หรือตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2482 ก็ได้มีการประพันธ์บทเพลงและคำร้องเพลงชาติไทยกันอยู่หลายครั้ง โดยผู้ประพันธ์เพลงหลายท่านไม่ว่าจะเป็น พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) / ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และอีกหลายท่านที่มีส่วนในการประพันธ์เพลงชาติไทยขึ้นมา
สุดท้ายแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2482 การแต่งคำร้องและทำนองเพลงชาติไทยก็เป็นอันแล้วเสร็จ โดยฉบับที่ใช้นั้นเป็นของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) หรือเป็นฉบับเพลงชาติไทยที่เราใช้กันในทุกวันนี้นั้นเอง โดยเนื้อเพลงชาติไทยที่แต่งขึ้นมา มีเนื้อหาของบทเพลงเพื่อมุ่งให้ปวงชนชาวไทยสำนึกและภูมิใจในความเป็นชาติไทย รวมถึงเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษไทยที่ได้ปกป้องแผ่นดินไทยเอาไว้
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเป็นประชารัฐ
ไผทของไทยทุกส่วนอยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวลด้วยไทยล้วนหมาย
รักสามัคคีไทยนี้รักสงบ
แต่ถึงรบไม่ขลาดเอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
ที่มา:
เขียนหรือเรียบเรียงโดย: Phetchabun.org
ตำนานนี้ถูกกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่น ของตำนานวิญญาณที่ปก […]
อนุสรณ์สถานเมืองราด ตั้งอยู่บ้านห้วยโปร่ง หมู่ 1 ตำบลบ้ […]
รูปภาพประวัติศาสตร์ไทยที่หาดูได้ยาก ภาพ เมื่อร้อยกว่าปี […]