อนุสรณ์สถานเมืองราด เกียรติประวัติพ่อขุนผาเมือง กษัตริย์นักรบผู้สร้างเมืองราด
อนุสรณ์สถานเมืองราด ตั้งอยู่บ้านห้วยโปร่ง หมู่ 1 ตำบลบ้ […]
ตำนานนี้ถูกกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่น ของตำนานวิญญาณที่ปกป้องเมืองเพชรบูรณ์หรือตำนาน”เณรมั่น เณรคง “
หากคุณเคยได้ยินตำนาน อิน จัน มั่น คง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ใครจะรู้ว่าตำนานนี้ ก็มีเกิดขึ้นจริงที่เพชรบูรณ์บ้านเรา ตำนานนี้ถูกกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่น ของตำนานวิญญาณที่ปกป้องเมืองเพชรบูรณ์หรือตำนาน”เณรมั่น เณรคง “ นั่นเอง กำแพงโบราณของเมืองเพชรบูรณ์ได้ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยกลางกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อประมาณ 400 – 500 ปีที่แล้ว ประกอบด้วยกำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน มีป้อมปราการทั้งสี่มุม คือ ป้อมศาลเจ้าพ่อ ป้อมถนนหลักเมือง ป้อมสนามชัย ป้อมศาลเจ้าแม่ และประตูเมืองอยู่กึ่งกลางกำแพงแต่ละด้านทั้ง 4 ทิศ คือประตูโพธิ์เย็น ประตูดาว ประตูประชาสวรรค์ และประตูชุมพล
ในสมัยก่อนมีคติที่เชื่อกันว่า จะต้องนำคนชื่อ อินทร์ จันทร์ มั่น คง มาฝั่งเป็นๆ เพื่อเป็นวิญญาณเฝ้าปกปักษ์รักษาเมือง การสร้างเมืองเพชรบูรณ์ก็เช่นกัน เจ้าเมืองได้ประกาศหาคนมาฝั่งทั้งเป็น แต่เนื่องจากเพชรบูรณ์เป็นเมืองเล็ก จึงทำให้ตามหาชื่อที่ต้องการนี้ยากลำบาก จึงประกาศให้หาเฉพาะชื่อมั่น กับชื่อคง
เหล่าทหารก็ออกตามหาคนชื่อมั่น ชื่อคง ไปทั่วเมืองแต่ก็ยังไม่พบ จนถึงวันกำหนดพิธีซึ่งจะต้องจัดตอนเที่ยง เวลาใกล้เพลเหล่าทหารก็ประกาศหาคน ชื่อมั่น ชื่อคง จนมาถึงวัดไตรภูมิ ทหารก็ได้ตะโกนว่า “กระจองงอง กระจองงอง เจ้าข้าเอ๊ย ใครชื่อมั่น ชื่อคง ให้ออกมาหน่อย” ก็มีเณร 2 รูปที่กวาดลานวัดอยู่ในวัดไตรภูมิ ตะโกนขานรับกลับมาว่า “โว้ย” เหล่าทหารจึงรีบเข้าไปคุมตัวเพื่อจะนำมาทำพิธี เจ้าอาวาสเห็นเช่นนั้นก็ห้ามปราม แต่เหล่าทหารก็ได้อธิบายความจำเป็น เจ้าอาวาสได้ยินเช่นนั้นก็ยอม แต่ขอให้เณรทั้ง 2 ได้ฉันเพลก่อน แต่เหล่าทหารเห็นว่าจะถึงเวลาที่ทำพิธีแล้ว จึงนำตัวเณรไป โดยไม่ยอมให้ฉันเพล ทำให้เจ้าอาวาสโกรธมาก และสาปแช่งเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ทุกคนไว้ว่า เจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนใดครองเมืองเพชรบูรณ์เกินกว่า 3 ปีขอให้มีอันเป็นไป จากนั้นต่อมาก็ไม่มีเจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนใดครองเมืองเกินกว่า 3 ปีอีกเลย ปัจจุบันประตูที่ฝั่งเณรมั่น เณรคงนี้ จะเห็นเป็นซากโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐประกอบด้วยหินทราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้สี่แยกถนนเพชรรัตน์ ทางไปวัดไตรภูมิซึ่งยังคงมองเห็นได้จนปัจจุบันนี้
อนุสรณ์สถานเมืองราด ตั้งอยู่บ้านห้วยโปร่ง หมู่ 1 ตำบลบ้ […]
รูปภาพประวัติศาสตร์ไทยที่หาดูได้ยาก ภาพ เมื่อร้อยกว่าปี […]
สมัยกรุงธนบุรี หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพ […]