ตำนาน ถ้ำฤาษีสมบัติ สถานที่ซ่อน พระแก้วมรกต ให้รอดพ้นจากสายตาของญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

คนไทยทุกคนต้องรู้จัก “พระแก้วมรกต” อย่างแน่นอน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร แต่รู้หรือไม่ว่าพระแก้วมรกต เคยประดิษฐานอยู่ที่ในถ้ำสมบัติ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถ้าสมบัติแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่ตั้งของกระทรวงการคลัง ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้ประกาศพระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ.2487 จัดตั้งให้ถ้าฤาษีสมบัติเป็นที่เก็บสมบัติของแผ่นดิน


ถ้ำฤาษีสมบัติแห่งนี้ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีของไทย เข้าอยู่ฝ่ายอังกฤษและอเมริกา เมื่อญี่ปุ่นตีอังกฤษและอาณานิคมได้เกือบทั้งหมดยกเว้นประเทศพม่า จึงทำทางรถไฟจาก จังหวัดกาญจนบุรี จะเข้าพม่าแต่มีผู้คนล่มตายเป็นอันมากเพราะไข่ป่า ในเวลาต่อมาจึกเรียกทางรถไฟสาย มรณะ ขณะนั้นอเมริกาตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูก ที่ญี่ปุ่นจึงแพ้สงคราม


สมัยนั้น พ.ศ.2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีความคิดที่ว่าถ้าเกิดไทยแพ้สงคราม คงจะถูกระเบิดทำลายเสียหายหมด จึงคิดที่จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ขึ้น ท่านจึงตัดสินใจอัญเชิญพระแก้วมรกต ไปประดิษฐานซ่อนไว้ในถ้ำลึกแห่งหนึ่งที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อทรัพย์สมบัติของบ้านเมืองจะได้พ้นจากสายตา และมือของญี่ปุ่น รวมถึงขนสมบัติจากท้องพระคลังหลวง มาไว้ในถ้ำฤาษี (เพราะภายในถ้ำมีรูปฤาษีอยู่) และจะทำการตั้งกระทรวงต่างๆ ขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ถ้ำสมบัตินี้จะสร้างเป็นกระทรวงการคลัง

และจะสร้างกระทรวงต่างๆ ขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์ เวลา 1 ปีผ่านไป จอมพล ป.พิบูลสงคราม นำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาเสนอเรื่องจะย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเสนอให้ทราบว่าได้สร้างกระทรวงต่างๆ ไว้แล้ว แต่การเสนอของท่านแพ้ฝ่ายค้าน คือ จอมพล ผิน ชุณหวัง 3 เสียง ท่านจึงต้องขนสมบัติกลับกรุงเทพฯ ตามเดิมและได้ หลวงปู่จันทร์ศรี อัญเชิญ พระแก้วมรกต จากถ้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์กลับกรุงเทพฯ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นชาวบ้านจึงเรียกถ้ำฤาษีว่า ถ้ำสมบัติมาตราบทุกวันนี้

ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวอาคารแทบไม่หลงเหลือให้เห็น นอกจากร่องรอยของการก่อสร้างในยุคนั้น และตัวถ้ำที่มีลักษณะเป็นถ้ำเขาหินปูน

หน้าบริเวณทางเข้ามีบันไดพญานาคขนาบทั้งสองข้าง ภายนอกมีซากป้อมปืนใหญ่ไว้ป้องกันทรัพย์สมบัติที่ย้ายมาจากกระทรวงการคลังในยุคนั้น ตั้งให้เห็นอยู่ในดงไม้ ภายในถ้ำมีรูปปั้นฤาษีตั้งอยู่อย่างโดดเด่น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อถ้ำฤาษีนั้นเอง นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานตลอดจนร่องรอยของการเก็บซ่อนสมบัติ ที่พอจะมองเห็นได้จากแสงสว่างของไฟฟ้าที่อยู่ภายใน อย่างไรก็ดี ควรเตรียมไฟฉายหรือตะเกียงสำหรับการเข้าชม

ข้อมูล/รูปภาพ : www.partiharn.com ,www.tourphetchabun.com
ฝากรูป
Message us