ติดลบ! แม่คะนิ้ง อ.น้ำหนาว เพชรบูรณ์ หลังอุณหภูมิดิ่ง -3 องศา
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
เพื่อการส่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่อำเภอเมืองและพื้นที่ 4 อำเภอในส่วนล่างของลุ่มน้ำป่าแดงขยายเวลาน้ำจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้
วันที่ 5 มีนาคม นายเชษฐา ดิษมาลย์ ชลประทานจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำ 5 แห่งเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตแหล่งน้ำดิบในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และ 4 อำเภอของจังหวัด ที่ไม่เพียงพอต่อการผลิต น้ำประปา ในวันที่ 1 มีนาคมน้ำจะถูกเบี่ยงเบนจากลุ่มน้ำห้วยขอนแก่นและอ่างน้ำเกาะในอำเภอหล่มสักไปยังอำเภอเมือง เพชรบูรณ์ แต่เนื่องจากความเข้าใจผิดในหมู่ผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรของอำเภอหล่มสักหล่มสักไม่เห็นด้วย
กระทั่งนายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงเชิญกลุ่มผู้ใช้น้ำมาชี้แจง จนมีข้อตกลงว่าทางราษฎรจะขอใช้น้ำเพื่อการเกษตรก่อนและในวันที่ 1-10 มีนาคม ทางชลประทานฯจะปล่อยน้ำให้ปริมาณอ่างละ 10 ล้านลบ.เมตรรวม 10 วัน หลังจากนั้นจึงจะผันน้ำลงมาช่วยพื้นที่อ.เมืองฯในวันที่ 11-21 มีนาคมในปริมาณอ่างละ 1.5 ล้าน ลบ.เมตรรวม 10 วันเช่นเดียวกัน
นายเชษฐากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางผันน้ำให้มาตามคลองชลประทานซึ่งเป็นคอนกรีต แทนการผันน้ำผ่านทางคลองธรรมชาติ จะทำให้ลดการสูญเสียน้ำได้มาก ทำให้น้ำมาถึงจุดบรรจบที่ต.ท่าพลอย่างเต็มที่ ในขณะที่อ่างป่าเลาที่ต.ท่าพลจะปล่อยน้ำอีก 5 แสนลบ.เมตรมาสมทบ รวมปริมาณน้ำทั้ง 3 อ่างราว 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยน้ำก้อนนี้ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็จะไปถึงหลังบริเวณวัดสนธิกร ซึ่งการประปาเพชรบูรณ์ร่วมกับทาง อบจ.เพชรบูรณ์ ตั้งเครื่องสูบน้ำรอไว้จะทำกสรสูบน้ำไปเก็บกักไว้ที่สระบริเวณหลังองค์พระใหญ่ โดยคาดการณ์ว่าจะสูบน้ำเก็บไว้ได้ราว 1 ล้าน ลบ.เมตร ทำให้ยืดระยะเวลาใช้น้ำไปได้ราว 3 เดือนหรือถึงราวเดือนกรกฎาคมนี้
น้ำก้อนนี้จะถูกจ่ายไปที่หนองนารี เพื่อผลิตน้ำประปาจ่ายบริการให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่ตอนบนของเขตอ.เมืองฯ อีกส่วนจะถูกส่งไปที่จุดกรองน้ำอ่างป่าแดง เพื่อผลิตน้ำประปาจ่ายบริการให้แก่ราษฎรที่อยู่อาศัยในเขตอ.เมืองตอนล่าง ขณะเดียวกันก็จะลดการใช้น้ำจากอ่างป่าแดงลงจากเดิมวันละ 1.2 หมื่นลบ.เมตรเหลือราว 7,000 ลบ.เมตร เนื่องจากมีน้ำดิบจากหนองนารีไปชดเชยดังนั้นหากเป็นไปตามแผนปริมาณน้ำในอ่างป่าแดงแทนที่จะหมดในเดือนเมษายนจะขยายออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม “ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์กล่าว
นายเชษฐ์กล่าวว่าสำหรับการแก้ปัญหาใน 4 เขตล่างคืออำเภอหนองไผ่อำเภอบึงสามพันอำเภอวิเชียรบุรีและอำเภอศรีเทพที่น้ำประปาเดิมทั้ง 4 อำเภอมีอ่างเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำดิบ คาดว่าน้ำจะหมดในปลายเดือนมีนาคม และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับน้ำประปามาจากแม่น้ำป่าสัก แต่ตอนนี้แม่น้ำป่าสักทำให้เกิดสภาพน้ำแห้งดังนั้นจึงมีแผนที่จะโอนน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำกงในอำเภอหนองไผ่และอำเภอห้วยเมยจากวิเชียรบุรี อำเภอที่จะช่วย
นายเชษฐากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้ปล่อยน้ำจากอ่างลำกงไปแล้ววันละ 2 แสน ลบ.เมตร โดยน้ำก้อนนี้เดินทางมาได้ราว 20 ก.ม.แล้ว และผ่านฝายนับ 10 ตัวซึ่งคาดการณ์ว่า เหลืออีก 20 วันน้ำจะเดินทางมาถึงจุดสูบน้ำของการประปาหนองไผ่ และเมื่อน้ำเต็มสระเก็บกักแล้วน้ำก้อนนี้ก็ลงไปที่อ.บึงสามพันระยะทางอีกราว 50 ก.ม. ซึ่งเป็นความหวังกันพอสมควร อย่างไรก็ตามสำหรับอ่างลำกงตามแผนจะปล่อยน้ำ 100 วัน
นายเชษฐากล่าวต่อว่า ส่วนอ่างห้วยเล็งที่วิเชียรบุรีปล่อยน้ำวันละ 6.5 หมื่นลบ.เมตร ในขณะที่ทางราษฏรต้องการน้ำวันละ 1 แสนลบ.เมตร แต่ปัญหาคือยังไม่สามารถควบคุมการลักลอบสูบน้ำได้ เกษตรกรเห็นน้ำก็แอบสูบเพื่อเตรียมทำนา ทำให้น้ำจะเดินทางไปไม่ถึงจุดสูบน้ำของประปาและจะทำให้มีปัญหาตามมา ตอนนี้ขอให้ทางอำเภอและท้องถิ่นไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรว่า น้ำที่ปล่อยน้ำไม่ใช่น้ำเพื่อเกษตรกรรม แต่เป็นน้ำที่จะแก้ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคเพียงอย่างเดียว
“ระยะทางเดินน้ำจากอ่างห้วยเล็งราว 40 ก.ม.มีฝายทั้งหมด 22 ตัว และรายงานล่าสุดน้ำผ่านฝายตัวที่ 12 มาแล้ว เหลือฝายอีกราว 10 ตัวซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่ก็เป็นความหวังเดียวเพราะว่า ไม่มีทางจะผันน้ำจากแหล่งอื่นมาช่วยได้ ในขณะที่ทางเดืนน้ำจาก อ.วิเชียรบุรีไป อ.ศรีเทพ ระยะทางกงราว 50 ก.ม.เช่นเดียวกัน และน้ำต้องไปตามแม่น้ำป่าสักซึ่งกว้างพอสมควร ก็มีความพยายามจะช่วยเต็มที่ให้ถึงที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่า จะแก้ปัญหาไปถึง อ.ศรีเทพได้หรือไม่ ”นายเชษฐากล่าว
แหล่งข้อมูล/77ข่าวเด็ด
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเรื่องราวน่าชื่นชมขึ้นที่บ […]
วันนี้ (12 มกราคม 2568) เจ้าหน้าที่เร่งระดมกำลังควบคุมเ […]