ติดลบ! แม่คะนิ้ง อ.น้ำหนาว เพชรบูรณ์ หลังอุณหภูมิดิ่ง -3 องศา
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
วันที่ 28 ก.พ.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 2/2562 ซึ่งมีนายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นประธาน โดยนายเชษฐา ดิษยมาลย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ กล่าวรายงานถึงสถานการณ์น้ำภายในอ่างเก็บกักว่า สถานการณ์ในภาพรวม 11 อ่างเก็บกักมีความจุ 193 ล้าน ลบ.ม. แต่วันนี้มีน้ำอยู่ 97.68 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 45% ในด้านการเกษตรไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาก็คืออ่างเก็บน้ำป่าแดง อ.เมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นหลักในการใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ปกติมีความจุราว 18.7 ล้าน ลบ.ม. วันนี้มีน้ำเหลือเพียง 3.1 ล้านลบ.ม. ถือว่าค่อนข้างน้อย ทางโครงการฯปล่อยน้ำวันละ 13,000 ลบ.ม.ต่อวันเพื่อการประปา ส่วนพื้นที่การเกษตรงดใช้น้ำทั้งหมดตั้งแต่เดือนพ.ย.2561 ที่ผ่านมา
นายเชษฐากล่าวว่า ในปี 2560 ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างล้นสปินเวย์ แต่ในปี 2561 น้ำไหลเข้าอ่างแค่ครึ่งหนึ่งทำให้น้ำต้นทุนมีน้อย โดยตั้งแต่เดือนพ.ย.มีน้ำ 6 ล้าน ลบ.ม.เศษ แต่วันนี้เหลือเพียง 3 ลบ.ม.เศษ ดิ่งลงจนเกือบจะถึงก้นอ่างแล้ว โดยเหลืออีกประมาณ 2 ล้านลบ.ม.ก็จะถึงก้นอ่าง การปล่อยน้ำให้ประปาวันละร่วม 10,000 ลบ.ม.เศษ แต่ปริมาณที่ถูกปล่อยออกจากอ่างมีมากกว่า โดยน้ำหายไปจากอ่างราว 32,000 ลบ.ม.ต่อวันโดยไม่สามารถควบคุมได้ และหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้จะเหลือน้ำใช้ได้อีกเพียง 47 วัน
นายเชษฐากล่าวอีกว่า สำหรับอ่างเก็บน้ำป่าแดงเป็นอ่างดินทำให้ไม่มีการรั่วซึม แต่สำหรับสถานีสูบน้ำของค่ายทหาร ซึ่งมีการปล่อยน้ำมาตามลำคลองแต่มีการรั้วไหล เนื่องจากประชาชนสองฝั่งมีการใช้น้ำ เมื่อไปสำรวจพบ 14 จุดซึ่งมีการต่อท่อสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรโดยไม่มีการขออนุญาต ฉะนั้นหากน้ำยังหายไปวันละ 32,000 ลบ.ม.ถึงวันที่ 12 เม.ย.นี้น้ำจะหมดอ่าง
“ทางชลประทานพยายามดิ้นรนอย่างที่สุด หากลดปริมาณการใช้น้ำได้เหลือวันละ 15,000 ลบ.ม.ต่อวันก็จะเข้าช่วงฤดูฝนทัน โดยจะยืดระยะเวลาใช้น้ำไปจนถึงเดือนวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ฉะนั้นจุดที่น้ำหายไปวันละ 20,000 ลบ.ม.จะต้องลดให้ได้ โดยขอความร่วมมือจากค่ายทหารลดสูบน้ำจาก 2 สถานี และให้ประชาชนที่ใช้น้ำสองฝั่งคลองงดทั้งหมดซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้ได้”นายเชษฐากล่าว
นายเชษฐากล่าวว่า หากลดปริมาณใช้น้ำไม่สำเร็จทางโครงการฯ มีอ่างเก็บน้ำป่าเลาวันนี้มีน้ำ 1.3 ล้าน ลบ.ม. เป็นแหล่งน้ำสำรองที่กันไว้สำหรับจุดวิกฤตจริงๆ โดยจะส่งน้ำมาที่หนองนารีได้ จึงต้องขอความร่วมมือทางเทศบาลช่วยลอกหนองนารี เนื่องจากว่ามีสภาพขุ่นและมีโคลนมาก และปัญหาที่การประปาจะต้องรับช่วงต่อก็คือ อ่างป่าแดงเลี้ยงในตัวเมือง ส่วนหนองนารีจะเลี้ยงศูนย์ราชการและพื้นที่ตอนบนขึ้นมา เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจะให้น้ำส่วนนี้ไปช่วยชุมชนเมืองได้ เป็นอีกปัญหาที่ขอความร่วมมือจากการประปาว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร
นายเชษฐากล่าวว่า ส่วนอ่างท่าพลขณะนี้มีปริมาณน้ำราว 2 ล้าน ลบ.ม.เศษ ซึ่งอยู่ค่อนข้างห่างแต่สามารถจะปล่อยน้ำลงแม่น้ำป่าสักได้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจะดำเนินการในเรื่องนี้และจะต้องหาแหล่งน้ำสำรองให้ได้
ในขณะที่ตัวแทนการประปาเพชรบูรณ์กล่าวชี้แจงว่า ทางการประปากับทางฝ่ายทหารได้สำรวจน้ำที่สูญหายไปและสำรวจแนวท่อร่วมกัน เพราะหากไม่สามารถควบคุมการใช้น้ำได้ก็จะเหลือน้ำใช้ได้แค่วันที่ 12 เม.ย.เท่านั้น ในส่วนพื้นที่ที่จะได้รับความเดือดร้อนได้แก่ในส่วนของตัวเมืองเพชรบูรณ์ ส่วนมาตรการที่จะรองรับมีตั้งแต่ลดแรงดันทั้งกลางวันและกลางคืนจากเบาไปหาหนักและกำหนดการจ่ายน้ำเป็นเวลา สำหรับหนองนารีเป็นโรงจ่ายน้ำเล็กจึงไม่สามารถจ่ายน้ำไปช่วยเขตพื้นที่เขตตัวเมืองหรือชุมชนเมืองได้
ด้านนายเสรี หอมเกสร นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กล่าวว่าหากถึงจุดวิกฤตจริงๆเท่าที่มีการหารือกันกับทางผู้จัดการการประปาในเบื้องต้น ก็จะให้มีการปล่อยน้ำจากอ่างท่าพลลงมา และสูบน้ำจากบริเวณหลังวัดสนธิกรมาใส่ที่สระหลังองค์พระใหญ่ ซึ่งสามารถจะจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบไปช่วยตัวเมืองได้อีกทาง ซึ่งตัวแทนการประปาชี้แจงว่า น้ำที่สระองค์พระใหญ่จะดึงไปที่แพลนหนองสูบน้ำหนองนารี แต่เนื่องจากเป็นแพลนเล็กกำลังการจ่ายน้ำไม่เพียงพอไม่สามารถส่งน้ำไปที่ตัวเมืองได้
นายสืบศักดิ์ได้แสดงความห่วงใยโดยระบุว่า หากปล่อยสถานการณ์ไปเรื่อยๆแบบนี้ โดยไม่มีการแก้ไขก็จะมีน้ำใช้ได้แค่วันที่ 12 เม.ย.นี้ จะต้องมีมาตรการแก้ปัญหา จากนั้นสอบถามในที่ประชุมว่าทางค่ายทหารรู้ปัญหาหรือไม่ โดยนายเชษฐากล่าวว่า ในการควบคุมอัตราการใช้จริงๆยังไม่รู้ กระทั่งนายสืบศักดิ์ได้สั่งการให้ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดประชุมทุกวัน พร้อมสั่งให้รายงานให้ทราบทุกวัน นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างการสูบน้ำของค่ายทหารจะเกินจะขาดต้องรายงานให้ทราบ
โดยนายสืบศักดิ์ยังกล่าวกำชับว่า หากถึงวันที่ 12 เม.ย.น้ำไม่มีจะยิ่งกว่าโกลาหลอีก ฉะนั้นจะต้องยื้อไปให้ถึง 1.มิ.ย.โดยจะมีวิธีการหรือใช้มาตรการอะไรก็ได้ และให้ต้องวอร์รูมเพื่อวางแผนแก้สถานการณ์น้ำ จากนั้นได้มอบให้นายกฤษณ์ คงเมือง รองผู้ว่าฯเพชรบูรณ์เป็นประธานคณะทำงานฯ
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเรื่องราวน่าชื่นชมขึ้นที่บ […]
วันนี้ (12 มกราคม 2568) เจ้าหน้าที่เร่งระดมกำลังควบคุมเ […]