ติดลบ! แม่คะนิ้ง อ.น้ำหนาว เพชรบูรณ์ หลังอุณหภูมิดิ่ง -3 องศา
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์”
ประการที่ 1 เนื่องจากจังหวัดชื่อเพชรบูรณ์ ซึ่งแปลว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเพชร และมีผู้เคย ขุดพบหินที่มีความแข็ง มากกว่าหินธรรมดา มีประกายแวววาวสุกใส เหมือนเพชรขุดได้ในเขตบ้านทุ่งสมอ นายาว อำเภอหล่มสัก หินที่ขุดได้นี้ เรียกกันว่า “เขี้ยวหนุมาณ” ซึ่งถือว่าเป็นหิน ตระกูลเดียวกันกับเพชร แต่มีความแข็งน้อยกว่าเพชร มีผู้เชื่อว่าเขี้ยวหนุมาณนี้ ถ้าทิ้งไว้ตามสภาพเดิมนานต่อไปอีกประมาณ 1,000 ปี จะกลาย เป็นเพชรจริง ๆ ได้และนอกจากนี้ยังมีผู้เชื่อว่า ภูเขาชื่อ “ผาซ่อนแก้ว” ในเขตอำเภอหล่มสักมีเพชร จึงตั้งชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว” ประการที่ 2 เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ไม้สักในดินมีแร่ธาตุที่มีค่า ตนประมาค่ามิได้ ซึ่งนับว่ามีค่าสูง เช่นเดียวกันกับค่าของเพชรทีเดียวและปรากฏกว่าในเขตตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำบ่อคำ” ซึ่งมี ประวัติว่าเคยเป็นที่ตั้งโรงหล่อ แร่ทองคำของฝรั่งชาวยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ มีซากวัตถุก่อสร้างปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ความหมายเกี่ยวกับภูเขา เนื่องจากด้วยพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขามากมายสลับซับซ้อนเป็นทิวเขาเทือกใหญ่เรียกว่า “เทือกเขาเพชรบูรณ์”ความหมายเกี่ยวกับไร่ยาสูบ
เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มียาสูบพื้นเมืองพันธุ์ดีเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่นานมาแล้ว มีรสเป็นเลิศกว่ายาสูบ ที่อื่น ทั้งหมดของเมืองไทย ยาสูบพันธุ์ดี ที่มีชื่อเสียงนี้ ปลูกได้ผลที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ แต่ในปัจจุบันนี้ยาสูบพื้นเมืองชนิดนี้มี น้อยลง เพราะราษฎรชาวบ้านกลับมานิยมปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์ เพื่อบ่มให้แก่สำนักงานไร่ยาสูบ เพราะได้ราคาดีกว่ายาสูบพื้นเมือง
พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ “นิทานโบราณคดี” นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์
ชื่อพันธุ์ไม้ มะขาม
ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน
หนาวสมชื่อ! เช้าวันที่ 13 มกราคม 2568 อำเภอน้ำหนาว จังห […]
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเรื่องราวน่าชื่นชมขึ้นที่บ […]
วันนี้ (12 มกราคม 2568) เจ้าหน้าที่เร่งระดมกำลังควบคุมเ […]