เตือนภัย! หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์ตกสะพานก่อสร้างดับ พ่อร่ำไห้ ไม่มีความรับชอบ ลูกตายทั้งคน!

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 มีรายงานเหตุหนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์ตกสะพานก่อสร้างจนเสียชีวิตในพื้นที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเหตุเกิดบนเส้นทางหลวงหมายเลข 2275 ซึ่งกำลังก่อสร้าง และยังไม่ได้เปิดให้ใช้งาน ผู้เสียชีวิตคือ ลูกชายของนายมานพ ชาวงศรี อายุ 46 ปี

นายมานพ ได้โพสต์แสดงความเสียใจถึงการจากไปของลูกชาย และวิจารณ์การก่อสร้างที่ไม่มีปิดกั้นหรือไฟเตือน ทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม นายราชันย์ เหมวิเชียร นายช่างโครงการฯ ออกมาชี้แจงว่า เส้นทางนี้ยังไม่เปิดให้ใช้และมีป้ายเตือน พร้อมสัญญาณไฟในจุดก่อสร้าง ทางโครงการกำลังประสานเรื่องการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต

พ่อตาผู้ตายยืนยันว่าไม่ปิดกั้นและไฟส่องสว่างไม่เพียงพอในคืนเกิดเหตุ จึงเรียกร้องความรับผิดชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้ขับขี่ เพราะดื่มสุราซึ่งเรารู้กันอยู่แล้วว่าการดื่มสุราทำให้เมา หรือทำให้ประสาทการรับรู้ลดลง ตามกฏหมาย พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (มาตรา 43) (ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือเสพสารเสพติด)

หากเป็นตามที่เจ้าทุกข์ร้อง ถนนที่กำลังสร้างโดยไม่มีที่ปิดกั้น ไม่มีไฟแจ้งเตือน สามารถเรียกร้องการเยียวยากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ แต่ถ้าหากมีการแจ้งเตือนแต่ผู้ขับขี่ ไม่ทันระวังหรือประมาท จะไม่ได้รับการเยียวยาใดๆทั้งสิ้น และหากมีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้โดยสารคนอื่นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย


คลิปวีดีโอข่าว

เครดิตวีดีโอ: เรื่องเล่าเช้านี้

คำถามพบบ่อย

อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
  • เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์ตกสะพานที่กำลังก่อสร้างในพื้นที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ บนเส้นทางหลวงหมายเลข 2275 ซึ่งยังไม่เปิดให้ใช้งาน ส่งผลให้เสียชีวิต
ทำไมถึงไม่มีการปิดกั้นหรือแจ้งเตือนบนถนนที่กำลังก่อสร้าง?
  • ตามคำให้การของนายมานพ ชาวงศรี พ่อของผู้เสียชีวิต ระบุว่าบริเวณจุดเกิดเหตุไม่มีปิดกั้นทางหรือไฟแจ้งเตือน อย่างไรก็ตาม นายราชันย์ เหมวิเชียร นายช่างโครงการฯ ยืนยันว่ามีป้ายและสัญญาณไฟเตือนในจุดก่อสร้าง “แต่ผู้ขับขี่ไม่ได้ปฏิบัติตาม”
หากผู้ขับขี่ประมาทหรือเมาแล้วขับ กฎหมายว่าอย่างไร?
  • ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (มาตรา 43) ห้ามขับขี่ยานพาหนะในขณะเมาสุราหรือมีสารเสพติดในร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การตอบสนองและการรับรู้ลดลง หากผู้ขับขี่ประมาทและดื่มสุรา ก็อาจไม่สามารถเรียกร้องการเยียวยาได้
หน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้างมีความรับผิดชอบอย่างไร?
  • หากพบว่าโครงการก่อสร้างไม่มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสม เช่น ไม่มีแบริเออร์กั้นหรือไฟแจ้งเตือน ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบและการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
การเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้เสียชีวิตเป็นอย่างไร?
  • นายช่างโครงการฯ ได้เปิดเผยว่ามีการติดต่อกับผู้รับจ้างเพื่อเตรียมการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต โดยจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดการชดเชยในภายหลัง

อ้างอิงข้อมูล: https://www.thairath.co.th/news/society/2812160

เรียบเรียงโดย: phetchabun.org